How to ทิ้ง? ทิ้งลงถังขยะอย่างไรที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก
How to ทิ้ง? ทิ้งลงถังขยะอย่างไรที่ช่วยลดปัญหาขยะล้นโลก
ถังขยะแยกประเภทไอเทมสำคัญที่ช่วยลดจำนวนขยะ
ปัญหาขยะล้นโลกกำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังหาวิธีในการแก้ไขปัญหา ในประเทศไทยเองก็มีปัญหาขยะล้นเมืองอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะในกรุงเทพมหานครในปี 2565 มีปริมาณขยะ 10,706 ตันต่อวัน คิดเฉลี่ยต่อประชากรในกรุงเทพมหานคร 1 คนสามารถสร้างขยะได้วันละ 2-3 กิโลกรัม แต่สามารถแยกขยะและนำไปรีไซเคิลได้เพียง 3,672 ตันต่อวันเท่านั้น ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำให้สามารถนำขยะมารีไซเคิลได้น้อยเกิดจากประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพไม่แยกขยะและทิ้งขยะไม่ถูกประเภทของถังขยะจึงทำให้ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ปนเปื้อนไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ หรือหากต้องการนำมารีไซเคิลต้องนำมาล้างทำความสะอาดก่อนซึ่งทำให้เสียทั้งเวลาและงบประมาณ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการจัดเตรียมถังขยะแยกประเภทกระจายไปยังพื้นที่สาธารณะและแหล่งชุมชนต่าง ๆ
เพื่อให้ประชาชนคัดแยกขยะได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งถังขยะแยกประเภทจะมีสีที่แตกต่างกันตามประเภทของขยะเพื่อให้ประชาชนสามารถแยกขยะได้ถูกต้อง โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
ถังขยะสีเขียว ใช้สำหรับทิ้งขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ โดยขยะชนิดนี้สามารถนำมาหมักเพื่อทำเป็นปุ๋ยได้
ถังขยะสีเหลือง ใช้สำหรับทิ้งขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขยะมูลฝอยที่ยังใช้งานได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ เป็นต้น
ถังขยะสีแดง ใช้สำหรับทิ้งขยะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์, ขวดยา, ถ่านไฟฉาย, กระป๋องสีสเปรย์, กระป๋องยาฆ่าแมลง, บรรจุภัณฑ์สารอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น
ถังขยะสีน้ำเงิน ใช้สำหรับทิ้งขยะหรือมูลฝอยทั่วไป หรือขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะที่ใส่ในถังขยะสีอื่น ซึ่งที่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าในการรีไซเคิล เช่น ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อน, พลาสติกห่อลูกอม, ซองบะหมี่สำเร็จรูป, ถุงพลาสติก, กล่องโฟมและฟอยล์ที่เปื้อนอาหาร เป็นต้น
ถังขยะสีส้มหรือบางครั้งก็ใช้เป็นถังขยะสีแดง ใช้สำหรับทิ้งขยะติดเชื้อ ขยะทางการแพทย์ในการตรวจ รักษา วินิจฉัย เช่น หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว, ถุงมือ, กระดาษชำระ, สำลี, ผ้าก๊อซ เป็นต้น
หลังจากที่มีการกระจายถังขยะแยกประเภทไปตามพื้นที่ต่าง ๆ แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและการทิ้งลงถังขยะแยกประเภทให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีความรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยเริ่มให้ความรู้ตั้งแต่ในครัวเรือน, ชุมชน, สถานประกอบการ, อาคารสำนักงาน, สถาบันการศึกษา และห้างสรรพสินค้า ซึ่งข้อกำหนดในการคัดแยกขยะ ดังนี้
ข้อกำหนดในการคัดแยกขยะในสถานประกอบการและชุมชน ก่อนทิ้งขยะลงถังขยะควรต้องมีการคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ โดยมีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทดังนี้ 1.1 ขยะเปียกควรแยกระหว่างเศษอาหารกับเศษใบไม้เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดก่อนทิ้งลงถังขยะ 1.2 ขยะรีไซเคิลก่อนนำไปทิ้งลงถังขยะรีไซเคิลควรแยกขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดออกจากกันก่อนนำไปทิ้งถังขยะหรือคัดแยกเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง เช่น นำไปขาย หรือบริจาคให้กับหน่วยงานที่ต้องการขยะรีไซเคิล โดยขยะรีไซเคิลมีทั้งหมด 4 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ 1.2.1 กระดาษ ควรแยกตามประเภทของกระดาษ เช่น หนังสือพิมพ์, สมุด, หนังสือ, กล่องกระดาษ, ลัง และเศษกระดาษ ออกจากกันแล้วมัดแยกประเภทไว้ 1.2.2 ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น ขวดแก้ว ควรกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ด้านในออกไปให้หมดจากนั้นนำไปทำความสะอาดแล้วจึงนำไปทิ้งลงถังขยะหรือสามารถนำไปขายได้ 1.2.3 ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก เช่น ขวดน้ำพลาสติก, ถุงพลาสติก, ช้อนส้อมพลาสติก ควรกำจัดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างในออกให้หมดจากนั้นจึงนำไปทำความสะอาด โดยหากเป็นขวดพลาสติกควรบีบขวดให้แบนเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บโดยแยกระหว่างพลาสติกขุ่นและพลาสติกใสแล้วจึงนำไปใส่ในถังขยะ ส่วนถุงพลาสติกและช้อนส้อมพลาสติกหากทำความสะอาดแล้วก็สามารถนำไปทิ้งลงในถังขยะรีไซเคิลได้เลย 1.2.4 ผลิตภัณฑ์โลหะหรืออโลหะ เช่น กระป๋องน้ำอัดลม, กระป๋องน้ำผลไม้, กระป๋องเบียร์, อะไหล่เครื่องยนต์, หม้อ, กระทะ ก่อนนำทิ้งถังขยะต้องเทผลิตภัณฑ์ในกระป๋องออกให้หมดและล้างน้ำทำความสะอาดบีบให้แบนเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บ ดึงฝาอะลูมิเนียมออกจากกระป๋องและผึ่งให้แห้ง หลังจากนั้นควรแยกประเภทของโลหะหรืออโลหะ และรวบรวมชิ้นส่วนทั้งหมดเพื่อนำไปรีไซเคิลซึ่งโลหะหรืออโลหะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ทุกชิ้นส่วน หรือหากนำไปขายก็สามารถขายได้ราคา 1.3 ขยะอันตรายต้องจัดเก็บให้มิดชิดและควรทิ้งลงในถังขยะอันตรายโดยเฉพาะ ซึ่งถังขยะควรต้องมีความมิดชิดและแข็งแรงและควรรองด้วยถุงขยะสีแดงเพื่อป้องกันการรั่วไหล 1.4 ขยะติดเชื้อโดยเฉพาะหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ วินิจฉัย หรือรักษา ควรทิ้งลงในถุงขยะสีส้มหรือสีแดงจำนวน 2 ชั้น และปิดปากถุงให้แน่นโดยบริเวณที่มัดปากถุงควรเช็ดแอลกอฮอล์ และจึงนำไปถึงลงในถังขยะติดเชื้อ 1.5 ขยะทั่วไปเป็นประเภทของขยะที่ไม่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้จึงควรทิ้งลงถังขยะทั่วไปโดยเฉพาะเพื่อให้สามารถนำไปกำจัดได้ทันทีไม่ต้องมาเสียเวลาในการคัดแยกอีก
สถานที่ในการเก็บกักขยะที่คัดแยกควรเป็นบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่กีดขวางทางเดิน อยู่ห่างจากสถานที่ประกอบอาหาร ที่รับประทานอาหาร และแหล่งน้ำดื่มเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
ห้ามเก็บกักขยะอันตรายไว้รวมกัน โดยให้แยกเก็บเป็นประเภท ๆ หากเป็นของเหลวให้ใส่ถังหรือภาชนะบรรจุที่มิดชิดและไม่รั่วไหล หากเป็นของแข็งหรือกึ่งของแข็งให้เก็บใส่ถังขยะหรือภาชนะที่แข็งแรง
หากมีการใช้น้ำทำความสะอาดวัสดุคัดแยกแล้วหรือวัสดุเหลือใช้ที่มีไขมันหรือตะกอนน้ำมันปนเปื้อน จะต้องระบายน้ำเสียนั้นผ่านตะแกรงและบ่อดักไขมันก่อนระบายสู่ท่อน้ำสาธารณะ
ห้ามเผา หลอม สกัดเพื่อคัดแยกโลหะมีค่าหรือทำลายขยะในบริเวณที่พักอาศัยหรือพื้นที่ที่ไม่มีระบบป้องกันไม่มีการควบคุมของเสียเพื่อป้องกันอันตรายและการไหลรั่วของสารพิษที่อาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้
การคัดแยกขยะให้ทิ้งลงในถังขยะแยกประเภทเป็นการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้สามารถคัดแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะขยะแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันจึงส่งผลให้ขยะแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการย่อยสลายที่สั้นหรือยาวที่ต่างกันและมีวิธีในการกำจัดที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทิ้งขยะลงถังขยะแยกประเภทจะช่วยให้คัดแยกขยะที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งส่งผลให้ปริมาณขยะมีจำนวนลดน้อย และขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ต้องถูกฝังกลบก็มีจำนวนลดน้อยลงเช่นเดียวกัน จึงทำให้สิ่งแวดล้อมมีความเสี่ยงที่ลดน้อยในการถูกทำลาย ซึ่งกรุงเทพมหานครเองก็มีแผนระยะยาวในการลดปริมาณขยะโดยตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (2556-2575) มีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะในกรุงเทพมหานครให้เหลือศูนย์หรือลดจำนวนขยะที่ต้องกำจัดไม่เกิน ร้อยละ 20 และต้องเปลี่ยนวิธีกำจัดขยะจากการฝังกลบที่ปัจจุบันขยะส่วนใหญ่ต้องถูกกำจัดด้วยวิธีฝังกลบถึงร้อยละ 80 ให้เหลือเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น โดยจะหันมาสร้างโรงไฟฟ้าขยะให้มากขึ้นเพื่อให้นำขยะกลับมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด Jenstore by Jenbunjerd จำหน่ายถังขยะรีไซเคิล, ถัง ขยะ 4 สี, ถังขยะอันตราย, ถังขยะพลาสติก, ถังขยะแยกประเภท, ถังขยะเทศบาล ที่ผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเพื่อเพิ่มความสะดวกในการคัดแยกขยะ มีหลายขนาด หลายรูปทรงให้เลือกใช้งาน มีทั้งแบบมีฝาปิดและไม่มีฝาปิด อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกรูปแบบ พร้อมบริการหลังการขายที่สามารถให้คำแนะนำได้อย่างมืออาชีพสนใจสินค้าติดต่อเรา
Website : https://www.jenstore.com (Live Chat) ฝ่ายขาย : 02-096-9999 (200 คู่สาย) Email : [email protected]บริการลูกค้า : 02-096-9898 ext 3102-3103 Email : [email protected] LINE Official Account: @jenstore Facebook : เจนสโตร์ - JenStore by Jenbunjerd
2023-09-25